เมื่อวานหายไปไม่ได้มาอัพบล๊อก เพราะ จขบ
มัวแต่หนีไปเที่ยวค่ะ แต่ไม่ได้ไปงานสัปดาห์หนังสือที่ศูนย์ประชุมนะคะ
เพราะขี้เกียวจฝ่าฝูงชนคนวันสุดท้ายแม้จะมีโอกาสได้หนังสือลดราคาเยอะเนื่องจากหลายสำนักพิมพ์บางทีขี้เกียจขนหนังสือกลับก็จะลดลงราคามาอีก
แต่เมื่อไม่ได้ไปก็ไม่มีอะไรมาเล่านะคะ
เพียงแต่จะบอกว่าเข้าไปดูที่ร้านนายอินทร์แถวบ้าน
จะมีหนังสือเก่าซื้อหนึ่งแถมหนึ่งคุ้มมากๆไม่ต้องถ่อสังขารไปศูนย์ประชุม
ความจริงเมื่อวานก็อยากไปแต่ติดขัดที่ไม่ได้เอารถไปแถมไปดูหนังกับไปนิทรรศการที่
จามจุรีสแควร์ ซึ่งเราจะเขียนถึงนี่แหละค่ะ อยากเชิญชวนให้คนไปกันหลายๆคนเพราะ
อพวช ซื้อไลเซ่นมาจาก Germany ซื้อเป็นแบบปีต่อปีนะคะ
เห็นว่าจะยังมีไปจนถึงตุลาคมปีหน้า
ที่รีบไปอาทิตย์ที่ผ่านมาก็เพราะตอนแรกเห็นว่าจะหมดเขตเดือนตุลาคมนี้
ขอเล่าถึงนิทรรศการชื่อ “
บทเรียนในความมืด
: Dialogue in the Dark” (ต่อไปนี้จะขอย่อโดยใช้คำว่า
DID นะคะ) DID คิดสร้างที่แรกที่เยอรมนีโดย
Andreas Heinecke เพราะเขามีเพื่อนร่วมงานที่พิการทางสายตาในตอนแรก
Andreas ที่มีความสงสารเห็นใจ
แต่เขาได้ทราบว่าสิ่งที่เพื่อนเขาต้องการไม่ใช่ความเห็นใจและสงสาร
และเขาก็ตกใจที่คนพิการทางสายตาถูกกีดกัน แบ่งแยกปฏิบัติจากคนที่ครบ32
(ความจริงคนพิการก็ถูกแบ่งแยกปฏิบัติหมดแหละค่ะ
ยิ่งในประเทศที่บอกว่าเป็นประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย)
DID เปิดตัวให้ผู้ชมเข้าชมครั้งแรกในปี
ค.ศ. 1988 ที่เมือง Frankfurt และมีจัดเป็นนิทรรศการชั่วคราวไปทั่วโลก จนมีเป็นนิททรศการถาวรเมื่อปี
ค.ศ.2000 ที่เมือง Hamburg
จุดประสงค์หลักของ DID มี 2
ข้อ คือ
1.เพื่อให้สาธารณะชนได้มีความใส่ใจกับมีความอดทนต่อความแตกต่าง
เพื่อจะได้ก้าวข้ามกำแพงของ คำว่า “พวกเรา” กับ “พวกเขา” ไปได้
2.เพื่อสร้างงานให้กับบุคคลที่เสียเปรียบ
เปลี่ยนจากข้อด้อยไปเป็นข้อเด่น
DID ของเมืองไทย จะมี 7 ห้อง
ให้ผู้เข้าไปสัมผัสรับรู้ว่าผู้พิการทางสายตาใช้วิธีการเอาตัวรอดในสังคมได้อย่างไร
เขาอาจจะต้องการความช่วยเหลือบ้างแต่พวกเขาไม่ต้องการความสงสารค่ะ
1.
ห้องแนะนำนิทรรศการ
เป็นพื้นที่เตรียมตัวเข้าชมนิทรรศการ และออกจากนิทรรศการ
2.
ห้องนั่งเล่น / (Living room) ปรับตัวเข้ากับความมืดและเริ่มสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้นำชม
และผู้เข้าชมด้วยความไว้วางใจและเป็นกันเอง
3.
สวนสาธารณะ/ Park เปิดประสาทสัมผัสของคุณให้พร้อมและกระตุ้นการรับรู้ของผู้ชม
4.
ย่านตลาด / Market กระตุ้นประสาทสัมผัส รับรู้และจดจำเพื่อสร้างประสบการณ์เดียวกันกับที่คนตาบอดพบในการดำเนินชีวิตประจำวัน
5.
ยานพาหนะ/การขนส่ง / Transport เช่น รถตุ๊กตุ๊ก
การผจญภัยในชีวิตประจำวันโดยประสบการณ์การเดินทางโดยใช้รถตุ๊กตุ๊ก
6.
ห้องเสียง / Music Room ห้องเสียง
เพื่อเปิดรับประสบการณ์การรับรู้และความบันเทิงของประสาทสัมผัสในร่างกายทุกส่วน
7.
บาร์ / Bar เพื่อสร้างบทสนทนาที่เป็นบทสรุปอันจะเป็นสะพานเชื่อมความเข้าใจระหว่างคนตาบอด
และคนตาดี
ก่อนที่จะเขียนถึงประสบการ์และความประทับใจก็ขอให้ข้อมูลกับคนที่อยากไปสัมผัส
บทเรียนแห่งความมืดด้วยตนเองว่า นิทรรศการนี้จัดที่ชั้น 5 ของ จามจุรีสแควร์
สามย่าน ราคาเข้าชมผู้ใหญ่ 90 บาท เด็ก/นักเรียน/นักศึกษา 50 บาท
แนะนำว่าควรโทรไปจองก่อนนะคะ
อย่าจองเล่นๆแล้วไม่ไปนะคะเพราะการเข้าไปสัมผัสจะเข้าได้แค่ครั้งละ 8 คนเท่านั้น
คุณจองแล้วไม่ไปมันเสียโอกาสคนอื่นที่เขาอาจจะ walk in เข้าไปโดยบังเอิญได้ค่ะ
แล้วถ้าคิดจะพาเด็กอายุต่ำกว่า 10
ปีเข้าชมต้องระวังนะคะเพราะทางผู้จัดจะพาเด็กไปทดสอบก่อนว่าเด็กกล้าพอไหม
เนื่องจากมันมืดสนิทจริงๆ ผู้ใหญ่อย่าง จขบ ยังหวั่นๆเลย ดีนะคะมีเพื่อนไปด้วย ห้ามนำอุปกรณ์ที่เรืองแสงเข้าไปนะคะ
ถ้าใส่แว่นก็ถอดได้เลย เพราะแว่นไม่จำเป็นค่ะ ตอน จขบ ไปก็เอาเก็บไว้ที่ Locker
ที่ทาง อพวช จัดเตรียมไว้ให้ ปลอดภัยแน่นอนค่ะ ถอดหมดแว่นตา นาฬิกาข้อมือ
โทรศัพท์มือถือ และกระเป๋าสตางค์
เพราะถ้าคุณทำอะไรหล่นข้างในคุณคงหาไม่เจอแน่ๆค่ะ
แล้วถ้าคุณไปทำอะไรให้เกิดแสงคุณจะถูกเชิญออกมาจากนิทรรศการนะคะ
Facebook
ของ DID มีข้อมูลกับเบอร์ติดต่อค่ะ
เข้าไปหาข้อมูลกันได้เลยนะคะถ้าสนใจ
มาถึงประสบการณ์ที่
จขบ ได้รับ จากการเข้าไปใน บทเรียนในความมืด ด้วยระยะเวลาโดยประมาณ 1
ชั่วโมงนั้น คุ้มมากค่ะ ตอนแรกที่เข้าไปมันจะมืดซะจน จขบ รู้สึกว่ากลัว
มันไม่ใช่มืดแบบเวลาไฟดับที่พอ ดวงตาของเราทำความเคยชินแล้วจะพอเห็นอะไรได้บ้าง
อันนี้คุณไม่มีโอกาสจะได้ใช้ประสาทสัมผัสของการมองเห็นเลยค่ะ
จะได้เรียนรู้ว่าถ้าคุณเกิดเสียการมองเห็นไปคุณจะต้องกลัวการใช้ชีวิตแน่นอนค่ะ
คุณไม่สามารถรู้ได้ว่าจะไปทางไหน นี่ขนาดเรามีพี่ไกด์นำ
แถมมีเพื่อนร่วมในประสบการณ์ถึง 8 คน รู้ว่าทุกอย่างมันต้องปลอดภัย แล้วคนที่พิการทางสายตาล่ะคะ
เขาไม่มีโอกาสได้รู้ว่าที่ที่พวกเขาจะไปจะเจออะไร จะปลอดภัยไหม จะสะดุดล้มไหม
จะซ้ายหรือจะขวา ได้รู้ว่าพวกเขาเหล่านั้นใช้ชีวิตอย่างไรในชีวิตประจำวัน ในเวลา 1
ชั่วโมงมันคงไม่เพียงพอที่จะทำให้เรารับรู้ได้ทั้งหมด
แต่ก็ทำให้เราหัดเข้าใจคนอื่นบ้าง
อย่าไปรำคาญเกิดเจอพวกเขาเหล่านั้นเข้าไปดูหนังโดยมีคนนั่งข้างๆอธิบายว่าเกิดอะไรกับหนังบ้าง
ไปพบความเก่งว่าเขาแยกแบงค์ได้ยังไงกัน
แล้วก็ยิ่งเกลียดไอ้พวกเลวๆที่เอาแบงค์ปลอมไปซื้อของหรือแลกจากคนตาบอด เลวมากๆค่ะ
มีครบ 32 ยังไม่คิดจะทำมาหากิน (อันนี้ไกด์ไม่ได้เล่านะคะ
เพียงแต่นึกไปถึงข่าวที่ได้รับฟังจากสื่อมา)
ท้ายนี้ขอแนะนำให้คุณๆไปสัมผัสประสบการณ์นะคะ
อ้อ เราได้ไปดูหนังมาด้วยค่ะ ดูเป็น 3D ด้วย การ์ตูนของ Tim Burton เรื่อง FrankenWeenie หนังก็ Dark ตามสไตล์ ตา Tim แหละค่ะ แต่ตอนจบก็ซึ้งนะคะ
คนที่ไปดูด้วยแอบมีน้ำตาไหลด้วยค่ะ
ใครเป็นพวกรักสัตว์นี่น่าจะเป็นเหมือนคนที่ไปดูกับ จขบ นะคะ
นี่คือหนังที่
จขบ ไปดูมาค่ะ